วีซ่า กับ พาสปอร์ต คืออะไร มีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร

หลายคนอาจสับสนว่า วีซ่ากับพาสปอร์ต คืออะไร เอาไว้ทำอะไรหรือต่างกันอย่างไร และยิ่งถ้าต้องเดินทางไปยังต่างประเทศแล้วไม่มีทั้งวีซ่า และพาสปอร์ตเราสามารถเดินทางได้หรือไม่ เราเลยจะมาอธิบายให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจกันนะครับ

หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต

หนังสือเดินทาง หรือที่เราเรียกกันว่า พาสปอร์ต คือ เอกสารระบุตัวตนของเรา เพื่อใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศ ภายในเล่มจะมีข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ชื่อ-นามสกุล, วัน-เดือน-ปีเกิด, จังหวัดที่เกิด, เพศ, สัญชาติ เป็นต้น โดยปกติเมื่อประชาชนทั่วไปติดต่อกรมการกงสุล เพื่อทำหนังสือเดินทาง เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือเดินทางแบบธรรมดาให้ สังเกตได้จากหน้าปกจะมีสีแดงเลือดหมู โดยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่เรื่องท่องเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ หรือไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศ ซึ่งในกรณีไปเรียนต่างประเทศจะต้องขอวีซ่าเพื่อการศึกษา สำหรับชาวต่างชาติจะต้องทำพาสปอร์ตด้วยเช่นกันถ้าจะเข้าประเทศไทย แต่ไม่สามารถใช้ทำงานในประเทศไหน ๆ ได้เลย เพราะมันผิดกฏหมาย

หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้

พาสปอร์ต

หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)

ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางธรรมดามีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบมีอายุ 5 ปี และแบบมีอายุ 10 ปี โดยแบบอายุ 5 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมในการทำ 1,000 บาท และแบบ 10 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมในการทำ 1,500 บาท

หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)

หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยออกให้เฉพาะข้าราชการ, เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ โดยผู้ที่ถือหนังสือเดินทางต้องมาดำเนินการเอง เนื่องจากต้องเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ถือเอกสาร ได้แก่ ภาพใบหน้า และลายนิ้วมือ ซึ่งหนังสือเดินทางข้าราชการมีด้วยกัน 2 แบบ คือ หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เล่ม F และ หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis) เล่ม G โดยทั้งสองแบบต่างกันตรงที่เล่ม F มีค่าธรรมเนียม แต่เล่ม G จะไม่มีค่าธรรมเนียม 

หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)

ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือข้าราชการชั้นสูง (นายกรัฐมนตรี, ประธานองคมนตรีและองคมนตรี, ประธานศาลฎีกา เป็นต้น)

หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)

หนังสือเดินทางชั่วคราว อายุ 1 ปี จะออกให้ในกรณีที่คนไทยทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทาง E-Passport ได้ อย่างไรก็ดี หนังสือเดินทางชั่วคราวมีข้อจำกัด คือ ไม่มี Machine Readable Barcode ซึ่งหากนำไปขอวีซ่า บางประเทศอาจไม่ยอมรับ


วีซ่า (VISA) คืออะไร ?

วีซ่า

วีซ่า (VISA) คือ หลักฐานสำคัญในการอนุญาตในการขอเข้าประเทศ สำหรับคนที่ไม่ได้มีสัญชาติของประเทศนั้น โดยอาจจะเป็นรอยประทับ หรือ เป็นแผ่นกระดาษสติกเกอร์ติดในอยู่ในหนังสือเดินทาง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตราประทับที่อยู่ในหนังสือเดินทาง แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางประเทศที่ได้ทำข้อตกลงกับประเทศนั้น ๆ จึงทำให้ไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างประเทศ หรือบางประเทศอาจจะยกเว้น โดยจะอนุญาตให้คนสัญชาติอื่น ๆ เดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็ได้

ประเภทและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจลงตราประเภทต่างๆ

  1. ประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)
    จะออกให้แก่คนประเทศที่ไม่ได้ถือสัญชาตินั้น ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อเดินทางผ่าน, เล่นกีฬา, เป็นผู้ควบคุมพาหนะ หรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า โดยวีซ่าประเภทนี้จะมีอายุ 3 เดือน พักได้ไม่เกินครั้งละ 30 วัน ปกติจะมีอายุ 5 วัน สำหรับผ่านไปยังประเทศอื่นที่เป็นจุดหมาย ที่ไม่ใช่ประเทศที่ได้รับอนุญาตหรือขอเอาไว้
  2. ประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa)
    จะออกให้แก่คนประเทศที่ไม่ได้ถือสัญชาตินั้น ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อการท่องเที่ยว โดยวีซ่าประเภทนี้จะมีอายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน พักได้ไม่เกินครั้งละ 60 วัน
  3. ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)
    จะออกให้แก่คนประเทศที่ไม่ได้ถือสัญชาตินั้น ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ, การติดต่อประกอบธุรกิจ, การทำงาน, การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง, การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ, การเข้ามาในประเทศเพื่อการรักษาพยาบาล โดยวีซ่าประเภทนี้มีอายุวีซ่า 3 เดือน สำหรับเดินทางครั้งเดียว หรือ 1 ปี สำหรับเดินทางหลายครั้ง พักได้ไม่เกินครั้งละ 90 วัน
  4. ประเภททูต (Diplomatic Visa)
    จะออกให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางทูต หรือ หนังสือเดินทางสหประชาชาติ ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น โดยพักได้ไม่เกินครั้งละ 90 วัน
  5. ประเภทราชการ (Official Visa)
    จะออกให้ในการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในประเทศเป็นการชั่วคราว เพื่อ ปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางราชการ หรือ หนังสือเดินทางสหประชาชาติ ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น โดยพักได้ไม่เกินครั้งละ 90 วัน
  6. ประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)
    จะออกให้เฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือ การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา โดยวีซ่าประเภทนี้จะมีอายุ 3 เดือน หรือ 6 เดือน พักได้ไม่เกินครั้งละ 90 วัน
  7. วีซ่าธุรกิจ (Business Visa)
    มีเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำการค้าขาย หรือ ติดต่อกับธุรกิจในประเทศของผู้ออกวีซ่า หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจ
  8. วีซ่าทำงาน ชั่วคราว (Temporary Worker Visa)
    เป็นวีซ่าสำหรับแสดงให้บุคคลนั้น ๆ ได้รับอนุญาตให้ทำงานภายในประเทศนั้น ๆ ได้ชั่วคราว
  9. วีซ่า ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On-Arrival)
    เป็นวีซ่าที่จะได้รับเมื่อเดินทางสู่ประเทศนั้น ๆ แล้ว โดยจะได้รับตรงจุดตรวจคนเข้าเมือง
  10. วีซ่าคู่สมรส หรือ วีซ่าแต่งงาน (Spouse Visa, Partner Visa, Marriage Visa)
    เป็นวีซ่าที่อนุญาตให้คู่แต่งงานที่ได้รับสัญชาตินั้น ๆ สามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศของอีกฝ่าย และพำนักได้ถาวรตามบุคคลภายในครอบครัว
  11. วีซ่านักเรียน (Student Visa)
    เป็นวีซ่าที่อนุญาตสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษา เข้ามาศึกษาต่อในประเทศนั้น ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โดยในบางประเทศใช้วีซ่าท่องเที่ยวแทน
  12. วีซ่าท่องเที่ยวและทำงาน (Working Holiday Visa)
    เป็นวีซ่าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศผู้เป็นภาคี โดยสามารถเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ได้
  13. วีซ่านักเขียน (Jounalist Visa)
    เป็นวีซ่าที่อนุมัติให้กับนักเขียน หรือ สื่อข่าวที่ได้รับการยอมรับ
  14. วีซ่าอพยพ (Immigration Visa)
    เป็นวีซ่าที่อนุมัติให้กับบุคคลที่ต้องการอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามประเทศที่อนุญาต
  15. วีซ่าผู้รับบำนาญ หรือ วีซ่าผู้เกษียณ (Pensioner Visa หรือ Retirement Visa)
    เป็นวีซ่าที่อนุญาตสำหรับคนที่มีอายุถึงเกณฑ์ที่กำหนด (ประมาณ 50 ปีขึ้นไป) โดยต้องมีรายได้ในต่างประเทศนอกเหนือจากประเทศที่ออกวีซ่าดังกล่าวให้ ซึ่งต้องเพียงพอต่อการดำรงชีพ และไม่มีความประสงค์จะทำงานแล้วเท่านั้น
  16. อิเล็กทรอนิค วีซ่า (Electronics Visa เรียกสั้น ๆ ว่า e-visa)
    เป็นระบบวีซ่าที่ใช้การบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับหมายเลขหนังสือเดินทาง และบาร์โค้ด โดยจะไม่มีป้าย หรือ สติ๊กเกอร์ติดลงในหนังสือเดินทาง เป็นการอำนวยความสะดวก เพื่อลดความแออัด และสร้างพื้นข้อมูลเชื่อมกับหน่วยงานความมั่นคง
  17. วีซ่าลูกเรือ (Ship Crew Visa)
    เป็นวีซ่าสำหรับลูกเรือของสายการบินที่ต้องการเดินทางมาพร้อมกับสายการบินนั้น ๆ หรือ ลูกเรือที่ทำงานให้กับเรือเดินสมุทรของต่างประเทศที่แล่นอยู่ในบริเวณน่านน้ำภายในไหล่ทวีปนอกชายฝั่ง

Visa on Arrival (VOA) และ Free Visa

Visa on Arrival (VOA)

ประเทศ และดินแดน ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยเดินทางไปได้ โดยที่ไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา หรือ ก็คือการไม่ต้องขอวีซ่าล่วงหน้า แต่ก็ต้องไปรับตราประทับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่ไปเสียก่อน ถึงจะมีสิทธิ์เข้าไปได้

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 14 วัน

  • กัมพูชา
  • ไต้หวัน (เฉพาะช่วงเวลา 1 สิงหาคม 2565 – 31 กรกฏาคม 2566)
  • บรูไน
  • บาห์เรน
  • พม่า

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 15 วัน

  • ญี่ปุ่น

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 30 วัน

  • มณฑลไห่หนาน (จีน)
  • ฮ่องกง
  • อินโดนีเซีย
  • ลาว
  • มาเก๊า
  • มองโกเลีย
  • มาเลเซีย
  • มัลดีฟส์
  • ฟิลิปปินส์
  • กาตาร์
  • รัสเซีย
  • เซเชลส์
  • สิงคโปร์
  • แอฟริกาใต้
  • ตุรกี
  • วานูอาตู
  • เวียดนาม
  • ทาจิกิสถาน

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 60 วัน

  • คีร์กีซสถาน

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 90 วัน

  • อาร์เจนตินา
  • บราซิล
  • ชิลี 
  • เอกวาดอร์
  • เกาหลีใต้
  • เปรู

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 180 วัน

  • ปานามา

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 365 วัน

  • จอร์เจีย

____________________________________________________________________

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางทูต

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 14 วัน

  • บาห์เรน

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 30 วัน

  • บรูไน
  • กัมพูชา
  • จีน
  • เอกวาดอร์
  • ฮ่องกง
  • อินโดนีเซีย
  • จอร์แดน
  • ลาว
  • มาเก๊า
  • มาเลเซีย
  • อัลดีฟส์
  • มองโกเลีย
  • โมซัมบิก
  • เมียนมา
  • โอมาน
  • ปาเลสไตน์
  • สิงคโปร์
  • หมู่เกาะโซโลมอน
  • ทาจิกิสถาน
  • ติมอร์-เลสเต
  • เวียดนาม

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 90 วัน

  • แอลเบเนีย
  • อาร์เจนตินา
  • ออสเตรีย
  • เบลารุส
  • เบเยี่ยม
  • ภูฏาน
  • บราซิล
  • บัลแกเรีย
  • ชิลี
  • โคลอมเบีย
  • คอสตาริกา
  • โครเอเชีย
  • เช็ก 
  • เดนมาร์ก
  • เอลซันวาดอร์
  • เอสโตเนีย
  • ฟินแลนด์
  • เยอรมนี
  • จอร์เจีย
  • ฮังการี
  • อินเดีย
  • อิสราเอล
  • อิตาลี
  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลีใต้
  • คอซอวอ
  • คูเวต
  • ลัตเวีย
  • ลิกเตนสไตน์
  • ลักเซมเบิร์ก
  • เม็กซิโก
  • มอนเตเนโกร
  • โมร็อคโก
  • เนเธอร์แลนด์
  • เนปาล
  • นอร์เวย์
  • ปานามา
  • เปรู
  • ฟิลิปปินส์
  • โปแลนด์
  • โรมาเนีย
  • รัสเซีย
  • เซอร์เบีย
  • เซเซลส์
  • สโลวัก
  • สโลวีเนีย
  • แอฟริกาใต้
  • ศรีลังกา
  • สวีเดน
  • สวิตเซอร์แลนด์
  • ทาจิกิสถาน
  • ตูนีเซีย
  • ตุรกี
  • ยูเครน
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • อุรุกวัย
  • วานูอาตู

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 120 วัน

  • ฟิจิ

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 180 วัน

  • ปานามา

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 365 วัน

  • จอร์เจีย

______________________________________________________________

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 15 วัน

  • มอริเซียส

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 30 วัน

  • บังกลาเทศ
  • ปากีสถาน

ประเทศที่พักได้ไม่เกิน 90 วัน

  • ฝรั่งเศส
  • มอลตา
  • สเปน

แต่ไม่ได้หมายความว่า เที่ยวในโซนยุโรปนั้นจะไม่ต้องขอวีซ่าเลย เพราะเรียกว่ายกเว้น แต่ก็มีการทำวีซ่าแบบพิเศษขึ้นมาที่เรียกว่า Schengen Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ

วีซ่าของกลุ่มประเทศยุโรป หรือ วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa)

เชงเก้น schengen

เป็นวีซ่าของทวีปยุโรป ขอเพียงแค่ครั้งเดียวสามารถเดินทางไปได้แทบทุกประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งไม่รวมประเทศอังกฤษ มีทั้งหมด 27 ประเทศ คือ

  • อิตาลี
  • เบลเยี่ยม
  • เยอรมนี
  • ฝรั่งเศส
  • โปรตุเกส
  • เนเธอร์แลนด์
  • โปแลนด์
  • สเปน
  • เดนมาร์ก
  • เอสโตเนีย
  • ฟินแลนด์
  • สวีเดน
  • มอลตา
  • สวิตเซอร์แลนด์
  • ออสเตรีย
  • ฮังการี
  • ลักเซมเบิร์ก
  • สาธารณรัฐเช็ก
  • สโลวาเกีย
  • สโลวีเนีย
  • ลัตเวีย
  • ลิธัวเนีย
  • นอร์เวย์
  • ไอซ์แลนด์
  • กรีซ
  • ลิกเตนสไตน์
  • โครเอเชีย

โดยในแต่ละประเทศจะให้ระยะเวลาพักแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นควรไปขอวีซ่าในประเทศที่เราคิดจะอยู่นานที่สุดก่อน แต่ถ้าไปทุกประเทศพอ ๆ กัน ควรไปขอในประเทศที่เราไปเป็นประเทศแรก โดยจะมีระยะ วลาอนุญาตรวมกันได้ไม่เกิน 90 วัน และขอล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

Free Visa – ฟรี วีซ่า (ผ.30)

ผู้ถือหนังสือเดินทางจะได้รับการยกเว้นในการตรวจตราการเข้าประเทศ เพื่อการท่องเที่ยวในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ซึ่งประเทศที่ได้รับสิทธิการยกเว้นตรวจลงตรา มีทั้งหมด 56 ประเทศ คือ

  • กรีซ
  • กาตาร์
  • เกาหลีใต้
  • คูเวต
  • แคนาดา
  • สาธารณรัฐเช็ก
  • ซานมารีโน
  • ญี่ปุ่น
  • เดนมาร์ก
  • ตุรกี
  • นอร์เวย์
  • นิวซีแลนด์
  • เนเธอร์แลนด์
  • บราซิล
  • บรูไน
  • บาห์เรน
  • เบลเยียม
  • เปรู
  • โปรตุเกส
  • โปแลนด์
  • ฝรั่งเศส
  • ฟินแลนต์
  • ฟิลิปปินส์
  • มอริเซียส
  • มัลดีฟส์
  • มาเลเซีย
  • โมนาโก
  • ยูเครน
  • เยอรมันนี
  • ลักแซมเบิร์ก
  • ลัดเวีย
  • ลิกเตนสไตน์
  • ลิทัวเนีย
  • เวียดนาม
  • สเปน
  • สโลวัก
  • สโลวีเนีย
  • สวิตเซอแลนด์
  • สวีเดน
  • สหรัฐอเมริกา
  • สิงคโปร์
  • ออสเตรเลีย
  • ออสเตรีย
  • อังกฤษ
  • อันคอร์รา
  • อิตาลี
  • อินโดนีเซีย
  • อิสราเอล
  • เอมิเรสต์
  • เอสโตเนีย
  • แอฟริกาใต้
  • โอมาน
  • ไอซ์แลนด์
  • ไอร์แลนด์
  • ฮ่องกง
  • ฮังการี

ทุกคนคงจะเข้าใจเรื่องของ วีซ่ากับหนังสือเดินทางต่างกันอย่างไร และมีขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไรแล้วนะครับ ซึ่งทั้ง 2 อย่างจำเป็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องเดินทางไปต่างประเทศก็ควรต้องทำไว้ครับ

โพสต์นี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด?

กดที่ดาวเพื่อให้คะแนน 🔻

คะแนนเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวต:

คุณเป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้?

ขออภัย! หากหัวข้อนี้ไม่ถูกใจคุณ

ช่วยบอกเราได้ไหมว่ามีส่วนไหนที่ต้องแก้ไข

แสดงความคิดเห็น

Klook.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences Save