“ปางอุ๋ง แม่ฮ่องสอน” บรรยากาศสุดโรแมนติค ป่าสน และไอหมอก !

“ปางอุ๋ง” หรือ โครงการพระราชดำริปางตอง 2 ตั้งอยู่ที่ ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 57,210 ไร่ ซึ่งมีอาณาเขตห่างจากแนวชายแดนประเทศพม่า (ฝั่งตะวันตก) ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ปายฝั่งขวาตอนล่าง อยู่สูงจากน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,200 เมตร ปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาป่าแปก และพื้นที่โครงการพระราชดำริปางตอง 1 (ห้วยมะเขือส้ม)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนสายแม่ฮ่องสอน-บ้านรักไทย และพื้นที่โครงการพระราชดำริปางตอง 3 (แม่สะงา-หมอกจำแป่)
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านดอยแสง และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งขวาตอนล่าง

ลักษณะภูมิประเทศโดยรวม เป็นทิวเขาสลับซับซ้อน ติดชายแดนประเทศพม่า โดยมีทิวเขาถนนธงชัยกั้นพรมแดนพื้นที่โครงการฯ แมีแนวชายแดนติดต่อประเทศพม่าประมาณ 15 กิโลเมตร พื้นที่โครงการตั้งอยู่ตอนบนของลุ่มน้ำแม่สะงา และลุ่มน้ำสอย ทั้ง 2 ลุ่มน้ำนี้จะไหลลงสู่ลำน้ำปาย และไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน

สภาพอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น โดยฤดูร้อนก็จะมีอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวก็จะหนาวจัด ฝนตกชุกในฤดูฝน มีหมอกตลอดทั้งปี นี่ล่ะคือไฮไลท์ของปางอุ๋งเลยค่ะ แนะนำให้ไปท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว

“ปางอุ๋ง” เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง รอบๆ อ่งเก็บเก็บน้ำเรียงรายไปต้นสน ความหมายของคำว่าปางอุ๋ง มาจากภาษาเหนือ ‘ปาง’ แปลว่า ที่พักในป่า ‘อุ๋ง’ ที่ลุ่มต่ำมีน้ำขัง รวมๆกัน ก็ ที่พักริมอ่งเก็บน้ำ ไฮไลท์ของปางอุ๋งคือ สายหมอก ที่สามารถชมความสวยงามได้ตลอดปี และที่สำคัญก็คือ ต้นสน ที่รายล้อมอ่างเก็บน้ำ ให้ความรู้สึกเหมือนท่องเที่ยวอยู่ต่างประเทศ ที่มีบรรยากาศสุดโรแมนติก สมยานามของที่นี่คือ สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย ชมพระอาทิตย์ตกดิน สีเหลืองทองอร่ามตา ทิวสนสองใบ ในอ้อมกอดของขุนเขา ช่างฟินอะไรเช่นนี้

เมื่อมาที่ปางอุ๋งแล้ว มีกิจกรรมอะไรบ้าง? กิจกรรมนั้นมีมากมาย :

  • ชมพระอาทิตย์ตกสะท้อนผิวน้ำ
  • ล่องแพไม้ชมทัศนียภาพโดยรอบ
  • สัมผัสบรรยากาศสายหมอก
  • ถ่ายรูปริมอ่างเก็บน้ำไปทิวทัศน์อันสวยงาม
  • ชมหงส์ดำ และหงส์ขาว
  • ขี่ม้า
  • เดินชมสวนปางอุ๋ง
  • ใส่บาตรตอนเช้า
  • สูดอากาศสดชื่น ผ่อนคลายความเครียด
  • ตั้งแคมป์ กางเตนท์

***ข้อแนะนำสำหรับการท่องเที่ยวปางอุ๋ง***

  • ปางอุ๋ง เปิดให้เข้าพื้นที่ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00 – 20.00 น.
  • นักท่องเที่ยวที่ต้องการค้างแรม ต้องลงทะเบียน ผ่านศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถนนขุมลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เบอร์โทรศัพท์ 053-611-244 โทรสาร 053-611-649  จึงจะสามารถนำรถเข้าพื้นที่ปางอุ๋งได้
  • นักท่องเที่ยวประเภทไป-กลับ ไม่สามารถนำรถเข้าไปในพื้นที่ได้ จะต้องนำรถไปจอดที่บ้านนาป่าแปก และจะต้องใช้บริการรถสองแถวของชุมชน ค่าโดยสารคนละ 50 บาท (ใช้ได้ทั้งขาไป และขากลับ) รถออกทุกๆ 20 นาที สามารถใช้บริการได้ในเวลา 05.00-18.00 น.
  • นำรถเข้า-ออกจากพื้นที่ปางอุ๋งได้ระหว่างเวลา 09.00-18.00 น. เท่านั้น
  • การจองที่พักของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเกสต์เฮ้าส์ บ้านพัก หรือเตนท์ ก็ติดต่อผ่านศูนย์ศิลปาชีพเช่นกัน โดยแจ้งชื่อ-เบอร์ติดต่อกลับ พร้อมรับบัตรผ่านเข้า-ออก เขตพื้นที่โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย
  • บ้านพักของโครงการพระราชดำริ ปางตอง 2 (ส่วนของป่าไม้) สามารถรองรับหน่วยงานราชการ-รัฐวิสาหกิจ สมาคม ชมรม สถาบันการศึกษา ติดต่อเจ้าหน้าที่โครงการฯ เบอร์โทรศัพท์ 080-847-8456 และ 087-661-8594
  • ที่พักบนพื้นที่ปางอุ๋ง จะปั่นกระแสไฟให้ใช้ในเวลาระหว่าง 18.00-22.00 น. เท่านั้น เป็นอีกเหตุผลที่ไม่ให้นำรถเข้า-ออก หลังเวลา 18.00 น. เพื่อความปลอดภัย
  • มีที่พักอื่นนอกจากของโครงการ คือ โฮมสเตย์ของชาวบ้าน
  • จำกัดนักท่องเที่ยงเข้าเยี่ยมชม เพียง 300 คน/วัน
  • การกางเตนท์ และการจอดรถ ต้องทำในบริเวณที่เจ้าที่จัดให้เท่านั้น
  • นักท่องเที่ยวควรเตรียมไฟฉาย แบตเตอรี่สำรอง ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

ภาพบรรยากาศ ปางอุ๋ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การเดินทาง :

– จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 สายแม่ฮ่องสอน-ปาย โดยให้เลี้ยวซ้าย ตรงทางแยกที่จะไปภูโคลน ในเส้นทางน้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง ตรงไปจนถึงบ้านแม้วนาป่าแปก มีป้ายบอกทางทางเข้าปางอุ๋ง
– จากอำเภอปาย ใช้เส้นทางปาย-แม่ฮ่องสอน ทางหลวงหมายเลข 1095 ผ่านอำเภอปางมะผ้า ก่อนถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 17 กิโลเมตร จะผ่านถ้ำปลา แล้วเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านหมอกจำแป๋ ไปยังบ้านรวมไทย ใช้เวล่าประมาณ 2-3 ชั่วโมง

แผนที่ Google Map ปางอุ๋ง :

เที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง 

น้ำตกผาเสื่อ

พระตำหนักปางตอง

หมู่บ้านรักไทย

ภูโคลน

หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว

ถ้ำปลา

สะพานซูตองเป้

พระธาตุดอยกองมู

โพสต์นี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด?

กดที่ดาวเพื่อให้คะแนน 🔻

คะแนนเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวต:

คุณเป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้?

ขออภัย! หากหัวข้อนี้ไม่ถูกใจคุณ

ช่วยบอกเราได้ไหมว่ามีส่วนไหนที่ต้องแก้ไข

แสดงความคิดเห็น

Klook.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า